01 กันยายน 2552

เทคนิคชาวยุทธ

Tip & Trick
การใช้สถิติเพื่อการวิจัย (สถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน)

ในช่วงต่อจากนี้เป็นต้นไป ทุกกลุ่มน่าจะอยู่ระหว่างการรันโปรแกรมและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งอาจจะเจอปัญหาหลายๆอย่าง เพราะจะต้องนำหลักสถิติเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้เราท้อใจบ้างเนื่องจากสถิติเป็นเรื่องยาก วันนี้ อ. จึงนำเทคนิคพิเศษ เอาให้เข้าใจกันง่ายที่สุดในโลก มาฝากค่ะ ก่อนอื่นเราต้องย้อนไปตอนที่ อ. สอบท่องมาตรวัด มันมีความสำคัญยังไงทำไมต้องบังคับให้ท่องได้ มาตรวัดแบ่งตามทฤษฎีของ อ. แบ่งเป็น 3 มาตรวัด ซึ่ง อ. อิงจากในโปรแกรม SPSS ซึ่งใช้ 3 มาตรวัดเช่นกัน บอกแล้วว่าเป็นเทคนิคพิเศษ ดังนั้นจึงไม่ควรสงสัย แต่ในตำราที่เราเรียนจะมี 4 มาตรวัด ตามหลักการของโปรแกรมจะมีมาตรวัด 3 มาตรวัดด้วยกัน คือ 1. Norminal คุณสมบัติ คือ จัดกลุ่มได้ ไม่ต้องเรียงลำดับก็ได้ เช่น เพศ จะเอาเพศไหนขึ้นก่อนก็ได้ไม่ต้องเรียงลำดับ
2. Ordinal คุณสมบัติ คือ จัดกลุ่มได้และจะต้องเรียงลำดับได้ด้วย เช่น กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่
3. Scale คุณสมบัติ คือ จัดกลุ่มได้ เรียงลำดับได้ ค่าเป็นตัวเลขที่มีช่วงห่างเท่ากัน เช่น ตัวแปรระดับความคิดเห็น 5 4 3 2 1
หลังจากที่เราระลึกชาติได้แล้ว ก้อให้เราหยิบแบบสอบถามของเราขึ้นมา แล้วลองเขียนดูซิว่าแต่ข้อในแบบสอบถามจะต้องใช้มาตรวัดตัวไหน
ทีนี้มาถึงวิธีการเลือกใช้สถิติเพื่อการทดสอบสมมติฐาน ปกติเวลาเราจะทดสอบสมมติฐานจะมีเรื่องให้ทดสอบอยู่ 2 เรื่อง คือ 1. หาความแตกต่าง 2. หาความสัมพันธ์ ซึ่งเราจะต้องจับสถิติให้ถูกต้อง นอกจากต้องจับสถิติให้ถูกแล้ว ต้องจับมาตรวัดให้ถูกต้องด้วยเช่นกัน 2 ตัวนี้ต้องไปด้วยกันเหมือนกอล์ฟไมค์
กรณีที่ 1 ถ้าตัวแปรตามของงานวิจัยเป็น Norminal หรือ Ordinal จะทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้ Chi-squares
กรณีที่ 2 ถ้าตัวแปรตามของงานวิจัยเป็น Scale จะทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ t-Test หรือ Anova
ทีนี้เมื่อไหร่เราจะใช้ t-Test และเมื่อไหร่จะใช้ Anova
t-Test ใช้เมื่อในข้อคำถามของเรา ตัวแปรต้นมีค่าย่อย 2 ตัวแปรเท่านั้นห้ามเกิน แต่ถ้าในข้อคำถามมีตัวแปรต้น มีค่าย่อยมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป เราจะใช้ Anova ทันที

สำหรับวันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อน หยิบแบบสอบถามขึ้นมา Check ของตัวเองดูนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น: